วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบของเครื่องช่วยฟัง

ระบบของเครื่องช่วยฟัง

ในปัจจุบัน เราแบ่งเครื่องช่วยฟังออกได้ตามระบบวงจรของเครื่องช่วยฟังได้เป็น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบธรรมดา ระบบโปรแกรมกึ่งดิจิตอล และระบบดิจิตอล ดังนี้

1. เครื่องช่วยฟังระบบธรรมดา (Analog) เครื่องช่วยฟังระบบนี้ใช้ระบบการขยายเสียงแบบธรรมดา (Analog) ไม่ซับซ้อน ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น และมีการปรับแต่งเสียงด้วยไขควง ทำให้ปรับได้ไม่ค่อยละเอียด ราคาไม่แพง เหมาะกับผู้มีงบประมาณไม่มากนัก

2. ระบบโปรแกรมกึ่งดิจิตอล (Programmable) ระบบนี้เป็นวิวัฒนาการขั้นสูงกว่าระบบธรรมดา โดยระบบวงจรเสียงภายในยังคงเป็นแบบธรรมดา (Analog) แต่มีการปรับแต่งเสียงโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปรับจูนเสีัยง ทำให้สามารถปรับเสียงได้ใกล้เคียงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น โดยในเครื่องจะมีไมโครชิพเล็กๆ ทำหน้าที่บันทึกการปรับเสียงเอาไว้ บางรุ่นสามารปรับโปรแกรมเสียงได้ 2 โปรแกรม

3. ระบบดิจิตอล (Digital) เป็นวิวัฒนาการของเครื่องช่วยฟังขั้นสูง เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมดแล้ว และมีความสามารถในการปรับเสียงแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีของแต่ละรุ่น โดยเครื่องช่วยฟังดิจิตอลจะมีวงจรการขยายเสียงแบบดิจิตอล และภายในเครื่องจะมีไมโครชิพเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลและปรับตั้งโปรแกรมเสียงเครื่องช่วยฟัง มีการแบ่งช่องการปรับสัญญาณเสียงหลายช่่องสัญญาณ บางรุ่นอาจมีระบบลดเสียงรบกวน ระบบไมโครโฟนสองตัวระบบขจัดเสียง Feedback (วี๊ด) ระบบประมวลผลที่มีความฉลาดในตัวเองซึ่งขึ้้นอยู่กับเทคโนโลยีของเครื่องดิิจิตอลแต่ละรุ่นที่พัฒนาออกมา และด้วยความสามารถเหล่านี้ทำให้เครื่องดิจิตอลมีความสามารถในการปรับเสียงได้อย่างละเอียด และตอบสนองความต้องการฟังเสียงของผู้ใช้ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังเสียงที่ชัดเจนมากขึ้นการรับโทรศัพท์ หรือการใช้ชีวิตในสถานะการณ์เสียงต่าง ได้ดีขึ้น

บกพร่องทางการได้ยิน

ความบกพร่องทางการได้ยินเป็นปัญหาที่หลบซ่อนอยู่ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นปัญหาที่รุนแรงตามมา เมื่อตรวจพบความบกพร่องทางการได้ยิน การใส่เครื่องช่วยฟังถือเป็นการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพทางหนึ่ง โดยเครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ชดเชยความบกพร่องทางการได้ยิน ทำให้ผู้มีปัญหาการได้ยินสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติแต่เครื่องจะไม่สามารถรักษาความบกพร่องทางการได้ยินได้
การเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้มีปัญหาการได้ยินมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับและประเภทของความบกพร่องของการได้ยิน สรีระวิทยาของหู ความจำเป็นในการใส่เครื่องช่วยฟังสองข้าง ความสวยงาม สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

ใครบ้างที่เหมาะสมกับประสาทหูเทียม?

ใครบ้างที่เหมาะสมกับประสาทหูเทียม ?
ประสาทหูเทียมไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน แต่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีความเหมาะสมกับประสาทหูเทียมเท่านั้น โดยควรเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้.-
  1. ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงทั้งสองข้าง
  2. ไม่ได้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์น้อยจากเครื่องช่วยฟัง
  3. มีสรีระของกระดูกก้นหอยที่เหมาะสม
  4. คนไข้มีความต้องการอยู่ในสังคมที่มีเสียง
  5. มีความคาดหวังที่เหมาะสม

ผู้ที่เหมาะสมกับประสาทหูเทียม แยกแยะออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มคนที่ไม่มีภาษามาก่อน คือ คนที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงตั้งแต่กำเนิดและพูดยังไม่ได้ ใช้เครื่องช่วยฟังแล้วช่วยไม่ได้หรือช่วยได้น้อย คนเหล่านี้ควรพยายามรีบใส่ประสาทหูเทียม ยิ่งเร็ว ยิ่งดี โดยปกติควรใส่ก่อน 5 ขวบ โดยจะได้ผลดีมากเมื่อใส่ไม่เกิน2 ขวบ มีการได้ยินปกติ

2. คนที่มีภาษามาก่อน คือคนที่หูปกติ เคยพูดได้มาก่อนแล้วมีการสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงมาก่อนแต่พูดได้ คนกลุ่มนี้ไม่จำกัดอายุ ผ่าเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ยิ่งเร็วยิ่งดี ถ้าทิ้งไว้นานสมองส่วนแปรความหมายคำพูดจะค่อยๆ ลืมภาษาไป ถ้าผ่าตัดเร็วจะช่วยฟื้นภาษาได้เร็วขึ้น

ประสาทหูเทียมมีประโยชน์อย่างไร?

ประสาทหูเทียมมีประโยชน์อย่างไร
เราอาจแบ่งประโยชน์ของประสาทหูเทียมที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้เป็นสองกลุ่มดังนี้
1.ในกลุ่มเด็กที่สูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด ประสาทหูเทียมจะช่วยให้
  • สามารถได้ยินเสียงและเกิดการเรียนรู้เสียง
  • เกิดการพัฒนาภาษาและเปิดโอกาสการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้น
  • สื่อสารด้วยภาษาพูดได้ เรียนร่วมในโรงเรียนปกติและมีโอกาสเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีโอกาสได้รับการจ้างงาน
  • มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและอยู่ในสังคมได้อย่างคนทั่วไป

2. สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาษามาก่อนแล้วสูญเสียการได้ยิน เมื่อนานเข้าจะทำให้สมองลืมภาษาพูด และภาษาก็จะค่อยๆหายไปเรื่อยๆ เมื่อใส่ประสาทหูเทียมจะช่วยให้

  • ภาษาพูดฟื้นกลับคืนมา
  • สามารถแยกแยะเสียงพูดได้ดีขึ้นกว่าตอนใช้เครื่องช่วยฟัง
  • กลับมาใช้ชีวิตในที่ทำงานและที่บ้านได้ตามปกติ
  • ความมั่นใจกลับคืนมาและสามารถพึ่งตนเองได้
  • มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป

ประสาทหูเทียมคืออะไร?

ประสาทหูเทียมคืออะไร
สำหรับบางคนที่สูญเสียการได้ยินมาก ใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ประโยชน์หรือได้รับประโยชน์น้อย เช่น ใส่แล้วสามารถฟังคำพูดได้เพียง 10-20 % ในอดีตคนเหล่านี้ก็ต้องเลิกใช้เครื่องช่วยฟัง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และปลีกตัวจากสังคม แต่ปัจจุบันประสาทหูเทียมเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาการได้ยินระดับรุนแรงขึ้นไป ให้สามารถกลับมาได้ยิน และใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติได้ประสาทหูเทียม คือ อวัยวะเทียมที่เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิค ทำหน้าที่
1รับสัญญาณเสียงแทนอวัยวะรับเสียง
2แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
3สัญญาณไฟฟ้าจะไปกระตุ้นประสาทรับเสียง แล้วส่ง ต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย ทำให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงได้

องค์ประกอบของประสาทหูเทียม
ประสาทหูเทียม มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้1. ส่วนที่ฝังอยู่ภายในร่างกาย คือ ตัวชิฟและคอยล์อิเล็กโทรด
2. ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย คือ ตัวแปลงสัญญาณมี 2 แบบ ดังนี้2.1 แบบพกพา (Body worn) 2.2 แบบทัดหลังหู (Behind the ear)

ประสาทหูเทียมทำงานอย่างไร
การทำงานของประสาทหูเทียมเมื่อไมโครโฟนรับเสียง ตัวแปลงสัญญาณภายนอกจะรับเสียงและแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังขดลวดที่อยู่ภายนอกหลังจากนั้นแปลงสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังขดลวดที่อยู่ภายในขดลวดภายในแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งต่อไปยังอิเลคโทรดเพื่อกระตุ้นที่ประสาทการได้ยินและส่งต่อไปที่สมองทำให้ได้ยินเสียงได้

พัฒนาเด็กพิเศษแบบองค์รวม

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ มีนโยบายการเรียนการสอน.-
1 ปรัชญาการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง Child Centered Care หรือ 3C หมายถึง ทีมวิชาชีพมองเด็กแต่ละคนตามศักยภาพเพื่อพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic Child Development) และออกแบบวิธี และแผนการสอนเฉพาะตัว ตั้งเป้าหมายที่เด็กต้องพัฒนาไปให้ถึงภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม พูดคุยและแสดงความคิดเห็น ปรับเปลี่ยนแผนการสอนตามความสามารถของเด็กอย่างต่อเนื่อง
2 การบูรณาการข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary Team) ค้นหาแนวทางการสอนและการฟื้นฟูแบบใหม่ แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ความชำนาญระหว่าง ทีมวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยา และนักกิจกรรมบำบัด ที่จะบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิผลของการให้บริการทางการเรียนการสอน โดยมีผู้ดูแลเด็กรายคน (Case manager) สรุปผลการประเมิน การจัดทำเป้าหมายในการพัฒนา ร่วมวางแผนการสอน รายงานผลการบำบัดให้แก่ผู้ปกครองติดตามผลร่วมกับผู้ปกครองและทีมงาน
3 แบบประเมินที่ใช้เป็นแบบประเมินมาตรฐานสากล นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น.-
· แบบประเมินพัฒนาการด้วยแบบทดสอบพัฒนาการเด็กของเดนเวอร์ (Denver Developmental Screening Test Manual Denver-II)
· แบบประเมินการผสมผสานการรับความรู้สึก
(Clinical Observations for Evaluation in Sensory Integration)
· แบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว วายแลนต์ (Vineland Adaptive Behavior Scales)
· แบบประเมินการรับรู้ทางสายตา DTVP-2
· ประเมินปัญหาด้านการเขียน (Handwriting Problems Assessment )
· แบบประเมินสำหรับเด็กสมองพิการ
· การประเมิน Oral Assessment

มาเข้าใจเด็กพิเศษ

ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ อินทิเม็กซ์ ให้บริการแก่กลุ่มเด็กพิเศษ ต่างๆ ที่มีความต้องการเฉพาะด้านที่หลากหลาย ดังนี้.-
  1. กลุ่มที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Deaf or hard of hearing)
  2. กลุ่มออทิสติกสเปคตรัมดิสออเดอร์ (ออทิซึ่ม พีดีดีนอส หรือ แอสเพอร์เกอร์ Autism,PDD-NOS and Aspergers)
  3. กลุ่มสมาธิสั้น (ADHD และ ADD)
  4. กลุ่มที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning disabilities and difficulties) ด้านการเขียน (Dysgraphia), ด้านการอ่าน (Dyslexia), ด้านการคำนวณ (Dyscalculia) และทุกด้านร่วมกัน
    กลุ่มที่มีปัญหาด้านการประมวลผลการรับรู้ความรู้สึก ซึ่งทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรม และ การเรียนรู้ (Sensory integrative dysfunctions)
  5. กลุ่มที่มีปัญหาด้านการเขียน (Handwriting difficulties)
  6. กลุ่มที่มีพัฒนาการล่าช้า (Delay developments)
  7. กลุ่มที่มีปัญหาทางด้านความแข็งแรงและการวางแผนการเคลื่อนไหว (Physical strengths and dyspraxia)
  8. กลุ่มที่ระบบประสาทได้รับผลกระทบ (Minimal brain dysfunctions/minimal neurological dysfunctions)
  9. กลุ่มที่มีความต้องการพัฒนาทักษะทางการพูดอันเกิดจากพื้นฐานทางจิตวิทยา เช่น ติดอ่าง (Stuttering) เด็กเลือกที่จะพูดในบางสถานการณ์ (Selective Mutism)
  10. กลุ่่มที่มีความต้องการพัฒนาทางด้านอารมณ์ เช่น พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์(Emotional Quotient) เด็กมีภาวะซึมเศร้า (Depressive) วิตกกังวล (Anxiety) กลัวอย่างไม่มีเหตุผล (Phobia)
  11. กลุ่มที่มีภาวะความเครียด (Stress) การถดถอย (Withdrawal) ไม่บรรลุภาวะทางอารมณ์ (Immature) เฉยชา (Apathetic) อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (Labile)
  12. กลุ่มที่มีความต้องการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมความประพฤติ เช่น กลัวการไปโรงเรียน(School Refusal) ชอบใช้ความก้าวร้าว (Aggression) เกเร (Delinquency) มีภาวะทางด้านการกินผิดปกติ เช่น ทานแล้วเด็กขย้อนออกมา (Rumination Disorder) รับประทานมากผิดปกติ (Bulimia Nervosa) เด็กปัสวะรดที่นอน (Enuresis) เด็กมีปัญหาทางการนอน เช่น นอนไม่หลับ ละเมอ ฝันร้าย ตื่นกลางดึก เป็นต้น
  13. กลุ่มที่มีความต้องการทางด้านสังคม เช่น พัฒนาจริยธรรม (moral quotient) พัฒนาทักษะการเล่น (Play Quotient) เด็กอยู่ในภาวะเหลวไหลทางสังคม ติดเกมส์ มั่วสุม ติดยาเสพติด ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
  14. เด็กที่ต้องการพัฒนาทักษะและความรู้อันเกิดจากการ สูญเสียทางร่างกายบางส่วน ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากอุบัติเหตุ

เด็กพิเศษ กับ ความพิเศษ ที่ ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ

ศูนย์เด็กพิเศษแสงเหนือขอต้อนรับทุกท่านสู่บ้านหลังใหม่ ที่พร้อมด้วยสถานที่กว้างขวางมากขึ้น ห้องเรียน ห้องบำบัด และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับขอเรียนให้ทราบถึงรายละเอียดของศูนย์เด็กพิเศษแสงเหนือดังต่อไปนี้.-
สถานที่ เลขที่ 116/6 ถนนพระรามหก ซอย 39 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-271-4455 เข้าทางซอยอาคารทิปโก้ มีป้ายธนาคารยู โอ บีอยู่หน้าอาคาร เข้าไป สุดซอย บ้านหลังสุดท้ายขวามือ รถประจำทางที่ผ่านคือสาย 536 (จากอนุเสาวรีย์) สาย 44 และ 67 (จากหน้าร.พ. รามา ถนนพระราม 6)
ส่วนของห้องเรียนและห้องฟื้นฟูบำบัด
1 ห้องเรียนเป็นอาคารไม้ แยกส่วนออกจากอาคารใหญ่ เป็นธรรมชาติ ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน จำนวน 7 ห้องเรียน แต่ละห้องเรียนมีชื่อห้องดังนี้ ห้องกระต่าย, ห้องแกะน้อย, ห้องกวางป่า, ห้องสิงโต, ห้องเสือใจดี, ห้องหมีแพนด้า และ ห้องม้าลาย
2 ห้องฟื้นฟูและบำบัด ประกอบด้วย.-
2.1 ห้องยิม (Gym room) สำหรับ จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor) และสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว (Gross motor coordination)
2.2 ห้องกระตุ้นการประมวลผลการรับความรู้สึก (Sensory Integration Room) สำหรับ จัดกิจกรรมเพื่อให้การบำบัดพฤติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องจากการประมวลผลการรับความรู้สึกของระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการมองเห็น (Visual Sense) ระบบการได้ยิน (Auditory Sense) ระบบการทรงตัวและรักษาสมดุลย์ของร่างกาย (Vestibular Sense) ระบบการรับรู้ของเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive Sense) และระบบการรับสัมผัส (Tactile Sense)
2.3 ห้องศูนย์รวมประสาทสัมผัส (Multi-Sensory Room) สำหรับการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกตัวที่สูงสุด ซึ่งห้องนี้มีอุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวกระตุ้นเพื่อให้เกิดการตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลอย่างยืดหยุ่นและเพียงพอ อุปกรณ์ภายในห้อง เช่น revolving mirror ball เป็นไฟสะท้อนที่สนับสนุนให้ผ่อนคลาย, fiber optic และ bubbles tube เป็นอุปกรณ์ที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวของตา และทำให้เกิดความสนใจในการมองเห็น aroma diffuser เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความจำจากกลิ่น เป็นต้น

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เป็นศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษทุกประเภทที่ทันสมัย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครันมุ่งเน้นประสิทธิภาพการเรียนการสอนด้วยระบบ C3 มีเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Centered Care) เพื่อพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic Child Approach) ลิขสิทธิของศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือแต่เพียงผู้เดียว

ศูนย์ฯ เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี่ จึงมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี่ RFID มาให้บริการด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการให้บริการที่ทันสมัย การบันทึกประวัติเด็ก นอกจากนั้นยังใช้ความก้าวหน้าทางไอ ที อำนวยความสะดวกแก่ผู้ปกครองให้สามารถการดูตารางเรียน เข้าถึงบทเรียนและการวางแผนการสอนของลูก รวมถึงการดูลูกเรียนได้จากที่ทำงานแบบ เรียลไทม์ online

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ ทันสมัยด้วยตัวอาคารเรียนที่ออกแบบแต่ละห้องเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก มีโทรทัศน์วงจรปิดติดตั้งทุกห้อง เพื่อบันทึกการเรียนการสอน มีกิจกรรม 12 ด้านหลัก และ 37 ด้านย่อย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ประเมินความสามารถของเด็กด้วยแบบประเมินมาตรฐานสากลนำเข้าจากต่างประเทศ โดยทีมครูการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ฯลฯ อุปกรณ์การเรียนการสอนนำเข้าและมาตรฐานสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ